วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สายพันธุ์โป๊ยเซียน

สว่างแดนดิน 

ทรัพย์เจริญสุข
กำแพงเมืองจีน
ทรัพย์โสธร 













กุหลาบทิพย์











กุสุมา














กิ่งแก้ว













แก้วมังกร












ดอกแก้ว















ดาวประทับเมือง




















ดาวรุ่ง
















ตุ๊กตา












แมลงศัตรูโป๊ยเซียน








ปัจจุบันโป๊ยเซียนเป็นไม้ดอกไม้ประดับที่กำลังได้รับความนิยมและปลูกเลี้ยงกันอย่างกว้างขวาง  ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากได้มีการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ที่ให้ดอกขนาดใหญ่และมีสีสันสวยงาม  ตลอดจนใบและลำต้นที่สวยงามมากกว่าสายพันธุ์ที่เคยพบเห็นหรือเคยปลูกเลี้ยงมาก่อน  อีกทั้งเชื่อกันว่าโป๊ยเซียนเป็นไม้มงคลให้โชคลาภแก่ผู้ปลูกเลี้ยงด้วย  ในการปลูกเลี้ยงโป๊ยเซียนปัญหาที่พบเสมอ ๆ เช่นเดียวกับการปลูกพืชชนิดอื่น ๆ ก็คือ ปัญหาอันเนื่องมาจากการเข้าทำลายของแมลงศัตรู  ถึงแม้จะมีคำกล่าวให้ได้ยินบ่อยครั้งว่าโป๊ยเซียนเป็นพืชที่ปลูกเลี้ยงง่ายไม่ค่อยมีศัตรูรบกวน ซึ่งก็เป็นจริงในสมัยแรก ๆ ที่ยังปลูกเลี้ยงกันไม่มากนัก  แต่ในปัจจุบันผู้ปลูกเลี้ยงได้ทวีจำนวนมากขึ้นและผู้ผลิตเพื่อการค้ามีการขยายทั้งปริมาณและพื้นที่ปลูกเพื่อสนองความต้องการของตลาด  ในขณะเดียวกันปัญหาอันเนื่องมาจากแมลงศัตรูพืชที่เข้ามาทำความเสียหายให้กับโป๊ยเซียนที่ปลูกอยู่ก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย  ทั้งนี้อาจเนื่องเพราะแมลงเหล่านี้มีอาหารกินอย่างอุดมสมบูรณ์และต่อเนื่องตลอดเวลา  อีกทั้งการปฏิบัติดูแลรักษาของผู้ปลูกเลี้ยงบางครั้งเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แมลงศัตรูโป๊ยเซียนขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณทำความเสียหายให้กับโป๊ยเซียนขึ้นมาได้
แมลงศัตรูโป๊ยเซียนเท่าที่ผู้เขียนได้พบเห็นมาตามแหล่งปลูกโป๊ยเซียนต่าง ๆ และเท่าที่ประสบด้วยตนเองขณะทำการปลูกเลี้ยงโป๊ยเซียนมาได้ประมาณ 2 ปี มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน และที่มีความสำคัญ มี 3 ชนิด คือ

เพลี้ยไฟ (Thrips)
ในปี พ.ศ.2537 ที่ผ่านมาโป๊ยเซียนที่ปลูกตามที่ต่าง ๆ ทั่วทุกภาคของประเทศไทยแสดงอาการใบและดอกลาย ผู้ปลูกเลี้ยงได้สันนิษฐานกันไปต่าง ๆ นานา บางรายก็ว่าเป็นอาการที่เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อไวรัส บางรายก็ว่าเกิดจากไส้เดือนฝอย  ในส่วนของผู้เขียนเองก็ได้ปลูกเลี้ยงโป๊ยเซียนไว้จำนวนหนึ่ง เกือบทุกต้นก็ว่าได้ที่เกิดอาการใบและดอกลาย  กว่าจะพบว่าเกิดจากสาเหตุอะไรโป๊ยเซียนที่ปลูกไว้ก็อยู่ในสภาพทรุดโทรมเต็มที การพบก็เป็นการบังเอิญโดยที่ตัดกิ่งโป๊ยเซียนที่แสดงอาการใบลายไปปักชำ แล้วใช้ขวดพลาสติกที่ใช้บรรจุน้ำอัดลมขนาด 2 ลิตร ตัดปากขวดออกแล้วครอบกิ่งชำนั้นไว้ 3-4 วัน ให้หลังสังเกตพบว่าใบของโป๊ยเซียนเหลืองและร่วงหล่นไป  จึงเปิดครอบพลาสติกออกได้พบเพลี้ยไฟจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่บนกิ่งชำนั้น เมื่อพบว่าสาเหตุคืออะไร  การแก้ไขปัญหาใบและดอกลายก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพียงพ่นสารกำจัดแมลง 1-2 ครั้ง ก็สามารถขจัดปัญหาเรื่องใบและดอกลายออกไปได้หมด
เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1-1.2 มิลลิเมตร ตัวเมียวางไข่ไว้ในเนื้อเยื่อของใบอ่อน ตัวอ่อนมีรูปร่างเรียวยาว สีเหลืองอ่อน เพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทำลายโป๊ยเซียนโดยการใช้ปากเขี่ยเนื้อเยื่อใบอ่อนและดอกอ่อนให้ช้ำก่อนแล้วจึงใช้ปากดูดกินน้ำเลี้ยงเป็นอาหาร เมื่อใบและดอกอ่อนที่ถูกทำลายเจริญเติบโตมีขนาดเพิ่มขึ้น รอยแผลที่เกิดจากการดูดกินก็ขยายใหญ่ขึ้นด้วย เห็นเป็นรอยขีดเป็นทางสีน้ำตาล ลวดลายไม่แน่นอนบนใบและดอกที่ถูกทำลาย โป๊ยเซียนต้นที่ถูกทำลายอย่างรุนแรง จะชะงักการเจริญเติบโต และหากส่งเข้าประกวดก็จะสูยเสียความงามในส่วนของใบไป
เพลี้ยไฟโป๊ยเซียนพบได้ทุกแห่งที่มีการปลูกโป๊ยเซียน การแพร่ระบาดมักเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน  หากผู้ปลูกเลี้ยงพบลักษณะอาการใบและดอกลายให้ใช้สารกำจัดแมลงพ่นให้ทั่วโดยเฉพาะบริเวณยอด ใบอ่อนและดอกอ่อน สารกำจัดแมลงที่แนะนำให้เลือกใช้ได้แก่
1. เมทโธมิล (methomyl)
มีชื่อการค้าว่า แลนเนท (Lannate) มีลักษณะเป็นผง ความเข้มข้น 40℅ ใช้ในอัตรา 15-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรและที่อยู่ในรูปของของเหลว มีชื่อการค้าว่า แลนเนท แอล (Lannate L) มีความเข้มข้น 18℅ ใช้ในอัตรา 30-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
2. โมโนโครโตฟอส (monocrotophos)
มีชื่อทางการค้าว่า อโซดริน 60 (Azodrin 60℅ WSC) ใช้ในอัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
3.  คาร์โบซัลแฟน (carbosulfan)
มีชื่อการค้าว่า พอสซ์ (Posse 20℅ EC) ใช้ในอัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
หนอนคืบ (Semi-looper)
  • หนอนคืบกินใบโป๊ยเซียน  เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของโป๊ยเซียนอีกชนิดหนึ่ง มักพบเข้ากัดกินใบโป๊ยเซียนในช่วงฤดูฝน  หนอนคืบชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันดีของเกษตรกรผู้ปลูกละหุ่งในชื่อว่า หนอนคืบละหุ่ง (castor semi-looper – Achaea janata (Linnaeus)) เพราเป็นแมลงศัตรูตัวร้ายของละหุ่ง  ในโป๊ยเซียนความสำคัญก็มิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน  โดยที่แมลงชนิดนี้แพร่ขยายพันธุ์ได้เร็ว ตัวหนอนมีขนาดใหญ่ กินจุ สามารถกินใบอ่อนของโป๊ยเซียนให้หมดต้นและเคลื่อนย้ายไปกินต้นอื่นได้อีก และบางครั้งอาจกัดกินส่วนยอดด้วย ทำให้โป๊ยเซียนเติบโตได้ไม่สมบูรณ์
ตัวเต็มวัยของหนอนชนิดนี้เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดกลาง สีน้ำตาลอ่อนปนเทา ความกว้างเมื่อกางปีกออกวัดได้ 4-4.5 เซนติเมตร ตัวเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ในเวลากลางคืนตามใต้ใบอ่อนหรือกลีบดอก ตัวเมียตัวหนึ่ง ๆ สามารถวางไข่ได้ถึง 4-5 ร้อยฟอง หนอนขนาดเล็กมีสีน้ำตาล เมื่อโตขึ้นมีสีเข้มข้น ส่วนหัวมีสีดำ และข้างแก้มทั้งสองข้างมีสีขาว ลำตัวด้านข้างมีลายสีน้ำตาลพาดตามความยาวลำตัวและมีจุดสีดำข้างละ 10 จุด เวลาเคลื่อนที่ไปหนอนจะคืบส่วนหัวออกไปข้างหน้าก่อนแล้วยกลำตัวให้โค้งขึ้น ใช้ส่วนขาที่อยู่ท้ายสุดของลำตัวเกาะชิดกับส่วนหัวแล้วจึงคืบส่วนหัวออกไปใหม่ หนอนเมื่อโตเต็มที่มีขนาดยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร จากนั้นจึงลงมาเข้าดักแด้ตามพื้นดินและออกเป็นผีเสื้อต่อไป
หนอนคืบเมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ จะแทะเล็มส่วนของผิวใบหรือผิวดอกด้านล่างให้เป็นรอย และถ่ายมูลไปตกไว้ตามใบล่าง ๆ สังเกตได้ชัดเจน  ส่วนหนอนที่โตแล้วจะกัดกินใบให้แหว่งเว้าหรือเหลือแต่เพียงก้านใบ หากพบร่องรอยการทำลาย  ให้ตรวจหาหนอนซึ่งมักจะซ่อนตัวอยู่ตามใต้ใบหรือลำต้น เมื่อพบให้ใช้มือจับออกไปทำลายทิ้ง  หากพบหนอนในปริมาณมากหรือมีการระบาดรุนแรงเกินกำลังที่ใช้มือจับไปทำลาย  ให้ใช้สารกำจัดแมลงพ่นให้ทั่วต้น  สารกำจัดแมลงที่ใช้ได้ผลดีคือ
1.  คาร์บาริล (carbaryl) มีชื่อการค้าว่า เซฟวิน 85 (Sevin 85℅ WP) ใช้ในอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
2.  เมทโธมิล (methomyl) มีชื่อการค้าว่า แลนเนท (Lannate) มีลักษณะเป็นผง ความเข้มข้น 40℅ ใช้ในอัตรา 15-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และที่อยู่ในรูปของของเหลวมีชื่อการค้าว่า แลนเนท แอล (Lannate L) มีความเข้มข้น 18℅ ใช้ในอัตรา 30-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
แมลงหวี่ขาว (Whitefly)
  • แมลงหวี่ขาวที่ลงทำลายโป๊ยเซียเป็นที่รู้จักกันดีทั่วไปในอีกชื่อหนึ่งว่า แมลงหวี่ขาวยาสูบ (tobacco whitefly – Bemisia tabaci(Gennadius)) แมลงหวี่ขาวทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณด้านใต้ใบโป๊ยเซียน  ใบที่ถูกทำลายมาก ๆ จะมีขนาดเล็กและเหลืองร่วงก่อนกำหนด  นอกจากนี้แมลงหวี่ขาวยังขับถ่ายน้ำหวานออกมาตกลงมาบนใบที่อยู่ข้างล่างซึ่งน้ำหวานที่ถ่ายออกมานั้นเป็นอาหารอย่างดีของราดำ  ราดำจึงเจริญขึ้นปกคลุมใบ ทำให้ใบสกปรกและการสังเคราะห์แสงลดน้อยลง โป๊ยเซียนจึงเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร
แมลงหวี่ขาวเป็นแมลงปากดูขนาดเล็ก ปีกมีสีขาวซึ่งปกคลุมไปด้วยผงคล้ายแป้งสีขาว ขนาดเมื่อกางปีกออก มีความกว้างของปีก 1.5-2 มิลลิเมตร ตัวเมียวางไข่ด้านใต้ใบอ่อน ตัวอ่อนเมื่อฟักออกจากไข่จะอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณที่วางไข่นั้น ตัวอ่อนมีลักษณะกลมรี แบนราบติดกับผิวใบ เมื่อโตเต็มที่จึงเข้าดักแด้และออกเป็นตัวเต็มวัยต่อไป
มักพบเห็นแมลงหวี่ขาวเข้าทำความเสียหายให้กับโป๊ยเซียนในช่วงที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง หากพบการระบาด สารกำจัดแมลงที่แนะนำให้ใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟสามารถใช้ได้ผลดีกับแมลงหวี่ขาวเช่นกัน นอกจากนี้การกำจัดวัชพืชบางชนิดเช่น สาบเสือ หญ้าฟองสบู่ ฯลฯ ซึ่งเป็นพืชอาหารของแมลงหวี่ขาวให้หมดไปจากบริเวณที่ปลูกโป๊ยเซียน ก็เป็นการช่วยลดปริมาณแมลงหวี่ขาวที่จะเคลื่อนย้ายมายังต้นโป๊ยเซียนที่ปลูกอยู่ด้วย
แมลงศัตรูโป๊ยเซียนชนิดอื่น ๆ ที่พบเข้าทำความเสียหายให้กับโป๊ยเซียนเป็นบางครั้งบางคราวในปริมาณไม่มากนัก เช่น แมลงหวี่ขาว (spiraling whitefly – Aleurodicus disperses (Russell)) เพลี้ยแป้ง (mealybug) เพลี้ยอ่อน (aphid) หนอนบุ้ง (hairy caterpillar) หนอนด้วงปีกแข็ง (white grub) หนอนกระทู้ (cutworm) และหนอนม้วนใบถั่วเหลือง (soybean leafroller – archips micacaena(Walder)) เป็นต้น  ซึ่งถ้าหากสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวนต่อการเจริญเติบโต และการแพร่พันธุ์ ประกอบกับการดูแลของผู้ปลูกเลี้ยงโป๊ยเซียนไม่ดีพอด้วยแล้ว แมลงเหล่านี้บางชนิดอาจจะกลาย เป็นแมลงศัตรูสำคัญของโป๊ยเซียนขึ้นมาได้เช่นกัน

อกสารอ้างอิง
1.  กองกีฏและสัตววิทยา 2537 คำแนะนำการใช้สารกำจัดแมลงและสัตว์ศัตรูพืช ปี 2537
กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 236 หน้า
2.  ไสว  บูรณพาณิชพันธุ์ 2536
แมลงศัตรูพืชไร่ ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ 311 หน้า
.










 

โป๊ยเซียน : สุดยอดไม้ดอกแห่งความนับถือของชาวจีน


โป๊ยเซียน : สุดยอดไม้ดอกแห่งความนับถือของชาวจีน




เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๙ คนไทยที่นิยมปลูกไม้ดอกส่วนใหญ่ยังคงให้ความสนใจกับกระแส "ลีลาวดีฟีเวอร์" ต่างจากเมื่อครั้งที่เรียกชื่อว่า "ลั่นทม" อย่างสิ้นเชิง ทำให้นึกถึงไม้ดอกชนิดหนึ่งที่คนไทยมากมายเคยเสาะหามาปลูกกันอย่างกว้างขวางอยู่หลายปีก่อนที่จะค่อยๆ ลดความนิยมลงไป จนอยู่ในระดับปกติเช่นปัจจุบัน ไม้ดอกชนิดที่กล่าวถึงนั้น ก็คือ โป๊ยเซียนนั่นเอง
โป๊ยเซียน  ต้นไม้แห่งผู้วิเศษทั้งแปด
โป๊ยเซียนมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Euphorbia Milii Desmoul อยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีหนามแหลมแข็งปกคลุมอยู่ทั่วทั้งต้น  
ใบ  รูปร่างยาวรี ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ  ส่วนใหญ่ใบจะเหลืออยู่บริเวณปลายกิ่งเป็นกระจุก ไม่แตกกิ่งก้านมากนัก

ดอก  ออกเป็นกลุ่ม และมักมีจำนวนคู่ ตั้งแต่ ๒  ดอกขึ้นไปถึง ๓๒ ดอก แต่ละดอกมีกลีบแบนอยู่ตรงข้ามกัน ๑ กลีบ แต่ละกลีบรูปร่างคล้ายไต ปกติดอกกว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร มีสีแดง ชมพู เหลืองอ่อน ฯลฯ มีเกสรตัวผู้และรังไข่อยู่ตรงกลางดอก อาจติดผลและมีเมล็ดขยายพันธุ์ได้ แต่ปกตินิยมขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง เมื่อหักกิ่งจะมีน้ำยางสีขาวข้นไหลออกมา


โป๊ยเซียนเป็นต้นไม้ที่นิยมปลูกในประเทศจีนมาหลายพันปี แต่นักพฤกษศาสตร์ยืนยันว่า แหล่งกำเนิดดั้งเดิมของโป๊ยเซียนอยู่ที่เกาะมาดากัสการ์ ซึ่งโป๊ยเซียนดั้งเดิมอาจมีลำต้นสูงถึง ๒ เมตร และดอกมีสีแดงอ่อน จนกระทั่งถูกคัดเลือกปรับปรุงจนเป็นต้นโป๊ยเซียนที่มีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้กระถาง และมีกลีบดอกเพิ่มมากขึ้น เป็นที่เคารพของชาวจีนสืบมาหลายพันปีจนปัจจุบัน เหตุที่ชาวจีนนับถือต้นโป๊ยเซียน เนื่องจากคำว่าโป๊ยเซียนที่ชาวจีนนำมาตั้งเป็นชื่อต้นไม้ชนิดนี้ คือชื่อของผู้วิเศษที่มีชื่อเสียงทั้งแปดของชาวจีน ประกอบด้วย ทิก๋วยลี้, ฮั่นเจงหลี, ลื่อท่งปิน, เจียงกั๋วเล้า, น่าไชหัว, ฮ่อเซียนโกว, ฮั่นเซียงจื๊อ และเช่าก๊กกู๋ สำหรับชาวจีนแต้จิ๋วเชื่อว่าโป๊ยเซียนเป็นต้นไม้นำโชคลาภ ป้องกันภยันตรายแก่ผู้ปลูกนิยมปลูกไว้ในกระถางลายครามที่เขียนรูปโป๊ยเซียนเอาไว้โดยรอบ คนไทยเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่าโป๊ยเซียนเช่นเดียวกับคนจีน ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Crown of Thorns หรือมงกุฎหนาม
ประโยชน์ของโป๊ยเซียน
ประโยชน์หลักของโป๊ยเซียนที่สำคัญและเด่นชัด คือ ให้ความสวยงามในฐานะไม้ดอกไม้ประดับประเภทปลูกในกระถาง แต่โป๊ยเซียนมีประโยชน์ทางอ้อมในด้านจิตใจ ด้วยคือ เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ สิริมงคล ป้องกันภยันตรายประจำบ้าน และมีคุณสมบัติเป็นต้นไม้เสี่ยงทายโดย พ.ต.ท.ชลอ อุทกภาชน์ ได้เขียนถึงการเป็นต้นไม้เสี่ยงทายของโป๊ยเซียนไว้ว่า "ต้นโป๊ยเซียนนี้ ตามธรรมดาจะออกดอกตั้งแต่ ๑ ดอก ถึง ๔ ดอกเท่านั้น หากผู้ใดจะมีโชคมีลาภ  ต้นโป๊ยเซียนนี้จะออกดอกช่อหนึ่งตั้งแต่  ๘ ดอก  ๑๖ ดอก ถึง ๓๒ ดอกเป็นต้น ยิ่งออกดอกมาก ยิ่งมีลาภมาก เฉพาะประเทศจีนต้นโป๊ยเซียนนี้จะปลูกกันเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางผู้ใหญ่ เพื่อไว้เสี่ยงทายวาสนาของตน" โป๊ยเซียนในปัจจุบันได้รับการพัฒนาสายพันธุ์จนมีความงดงามกว่าในอดีตมาก ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงของต้น ขนาดของดอก สีของดอก และจำนวนช่อของดอก นอกจากนั้นโป๊ยเซียนยังเป็นไม้ดอกที่ขยายพันธุ์ง่าย แข็งแรงทนทาน ให้ดอกตลอดปีอีกด้วย

หากผู้อ่านต้องการปลูกต้นไม้ที่ให้ทั้งคุณสมบัติด้านจิตใจและกายภาพไปพร้อมกันแล้ว โป๊ยเซียนเป็นต้นไม้ที่น่าจะนำมาพิจารณาเป็นลำดับต้นๆ 

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัดท้ายบท


แบบฝึกหัด
คำถามท้ายบทที่ 1-8
รายวิชา( 0026 008)การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน
นางสาวสาวิตรี  สงวนศักดิ์   56010919049  คณะการบัญชีและการจัดการ สาขา GM ระบบปกติ

บทที่ 1 แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่

จงเติมในช่องว่างว่าข้อใดเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศ

1.ข้อมูลหมายถึง  ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผลซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น
          
2.ข้อมูลปฐมภูมิคือ

ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลประเภทหนึ่งที่ใช้ในการวิจัยตลาด* จัด เก็บจากต้นกำเนิดของข้อมูลโดยตรง จึงให้รายละเอียดที่ลึกซึ้ง ทันสมัย มีความผิดพลาดน้อย แต่เป็นข้อมูลที่ยังต้องนำมาจัดระเบียบ รวบรวมตีความและให้รายละเอียดที่ลึกซึ้ง ทันสมัย มีความผิดพลาดน้อย แต่เป็นข้อมูลที่ยังต้องนำมาจัดระเบียบ รวบรวมตีความ
ยกตัวอย่างประกอบ การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล  การพบปะกันระหว่างผู้หาข้อมูลและ ผู้ให้ข้อมูลอาจกระทำได้เป็นรายบุคคล ทีละคน หรือเป็นการสัมภาษณ์กลุ่ม

3.ข้อมูลทุติยภูมิคือ  คือ  สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ มักจะอยู่ในรูปแบบการสรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนีและสาระสังเขป เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ได้แก่ สื่ออ้างอิงประเภทต่าง ๆ
ยกตัวอย่างประกอบ หนังสือ ตำรา ที่รวบรวมเนื้อหาวิชาการในการเรียนการสอน สารานุกรม พจนานุกรม รายงานสถิติต่าง

4.สารสนเทศหมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ 

5.จงอธิบายประเภทของสารสนเทศ

1. จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ

1. สารสนเทศปฐมภูมิ (primary sources)  หมายถึง  สารสนเทศที่เรียบเรียงขึ้นจากประสบการณ์ของผู้เขียน หรือเป็น ผลการค้นคว้าวิจัย  นำเสนอความรู้ใหม่ ๆ  ได้แก่  รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์  เอกสารการปฏิบัติงาน  รายงานการประชุมทางวิชาการ   บทความวารสารวิชาการ   เอกสารสิทธิบัตร   เอกสารมาตรฐาน  เอกสารจดหมายเหตุ
2. สารสนเทศทุติยภูมิ (secondary sources) หมายถึง  สารสนเทศที่ได้จากการนำสารสนเทศปฐมภูมิมาสังเคราะห์และเรียบเรียงขึ้นใหม่  เพื่อเสนอข้อคิดหรือแนวโน้มบางประการ  ได้แก่  หนังสือทั่วไป  หนังสือตำรา  หนังสือคู่มือการทำงาน   รายงานความก้าวหน้าทางวิทยาการ  บทคัดย่องานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ  วารสารสาระสังเขป เป็นต้น
3. สารสนเทศตติยภูมิ (tertiary sources) หมายถึง สารสนเทศที่ชี้แนะแหล่งที่อยู่ของสารสนเทศปฐมภูมิและทุติยภูมิ  จะให้ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสารสนเทศ  ได้แก่หนังสือนามานุกรม  บรรณานุกรม  และดัชนีวารสาร เป็นต้น  
2. สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ
2.1 กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล สารสนเทศ ที่ใช้ง่ายต่อการบันทึก รวมทั้งการเขียนและการพิมพ์ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันจนถึงปัจจุบัน
2.2 วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่าง ๆ ทั้งที่เป็นม้วนและเป็นแผ่น มีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาตามต้น
2.3 สื่ออิเล็กทรอนิกหรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถบันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูลที่เป็นแอนาล็อก และดิจิตอล
2.4 สื่อแสงหรือสื่อออปติก (Optical Media) เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์

6.ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจเป็นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียงคือ ข้อมูล
7.ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเป็น  ข้อมูลทุติยภูมิ 
8.ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคนเป็น  ข้อมูลปฐมภูมิ
9. ผลของการลงทะเบียนเป็น ข้อมูลทุติยภูมิ 
10. กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน Section วันอังคารเป็น ข้อมูลปฐมภูมิ 



บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม
คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้

1. ให้นิสิตหารายชื่อเว็บไซต์หรือเทคโนโลยีที่ให้บริการต่าง ๆ ตามหัวข้อเหล่านี้มาอย่างละ 3 รายการ

1.1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา
- Eduzones
- Wikipedia
- Dek-d

1.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน
กรมพัฒนาธุรกิจ
ธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารกรุงไทย

1.3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพการสื่อสารมวลชน
ข่าวไทยรัฐออนไลน์
- Sanook! News
- GossipStar

1.4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางอุตสาหกรรม
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรม
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
1.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางการแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.)
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร

1.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารตำรวจ
กองทัพบก
รับสมัครทหารกองหนุน
แจ้งเบาะแสออนไลน์

1.7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรม
สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย
สภาวิศวกร
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

1.8 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเกษตรกรรม
การเกษตร
การเกษตรจากชุมพร

1.9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคนพิการต่าง ๆ
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
กศน.เพื่อคนพิการ
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ

2. มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่าน มีอะไรบ้าง บอกมาอย่างน้อย 3 อย่าง
ห้องสมุดดิจิตอล
ตู้ถอนเงินอัตโนมัติ
โปรเจคเตอร์

3. จากข้อ 2 จงวิเคราะห์ว่าท่านจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้น มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไรบ้าง
ห้องสมุดดิจิตอลมีพื้นที่พอสำหรับนักศึกษาว่าต้องการไปค้นหาความรู้โดยใช้อินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งสะดวกและใช้งานง่าย

บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

1. ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สารสนเทศ
     ง. ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้งานสารสนเทศ

2. จากกระบวนการของการรู้สารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการไหนสำคัญที่สุด

     ง. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
     ค. ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม

4. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
     ค. สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง

5. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
     1. ความสามารถในการประมวลสารสนเทศ
     2. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
     3. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
     4. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
     5. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
     ค. 5-4-1-2-3


บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้

1. ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิด 
แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน

1) การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล
- CD    - บัตร ATM    - Memory Card

2) การแสดงผล
จอภาพ  - เครื่องพิมพ์  - พลอตเตอร์

3) การประมวลผล
เครื่องคิดเลข   - ฮาร์ดแวร์
ซอฟแวร์

4) การสื่อสารและเครือข่าย
โทรศัพท์มือถือ
- IPad
- IPod

2. ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความที่สัมพันธ์กัน




(3) ซอฟต์แวร์ประยุกต์
1. ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูล
(10) Information Technology
2. e-Revenue
(7) คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล
3. เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วต่อการนำไปใช้
(4) เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
4. มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ Sender MediumและDecoder
(1) ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
5. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย
(8) ซอฟต์แวร์ระบบ
6. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(9) การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมีเดีย ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตามระดับความสามารถ
7. โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์
(6) EDI
8. โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟต์แวร์ประเภท
(5) การสื่อสารโทรคมนาคม
9. CAI
(2) บริการชำระภาษีออนไลน์
10. ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ


บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้


1. จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ
การจัดการสารสนเทศ ความหมายถึง การผลิต จัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยแพร่ สารสนเทศโดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ รวมทั้งมีนโยบาย หรือ กลยุทธ์ระดับองค์การในการจัดการสารสนเทศ

2. การจัดการสารสนเทศมีความสําคัญต่อบุคคลและต่อองค์การอย่างไร
 การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพ ต่างๆ การจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบ โดยการจัดทำฐานข้อมูลส่วนบุคคล รวบรวมทั้งข้อมูลการดำรงชีวิต การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพต่างๆ ในการดำรงชีวิตประจำวัน 
2. ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อองค์การ
การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อองค์การในด้านการบริหารจัดการ การดำเนินงาน และกฎหมาย ดังนี้
      1) ความสำคัญด้านการบริหารจัดการ การบริหารจัดการในยุคโลกาภิวัตน์เป็นการบริหารภายใต้สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันกันทางธุรกิจสูง ผู้บริหารต้องอาศัยสารสนเทศที่เกี่ยวข้องทั้งกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ทางเลือกในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ การกำหนดทิศทางขององค์การ ให้สามารถแข่งขันกับองค์การคู่แข่งต่างๆ จึงจำเป็นต้องได้รับสารสนเทศ ที่เหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วน ทันการณ์ และทันสมัย เพื่อใช้ประกอบภารกิจตามหน้าที่ ตามระดับการบริหาร
2) ความสำคัญด้านการดำเนินงาน สารสนเทศนับมีความสำคัญต่อการดำเนินงานในหลายลักษณะ เป็นทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน และหลักฐานที่บันทึกการดำเนินงานในด้านต่างๆ ตามที่หน่วยงานดำเนินการ การจัดการสารสนเทศช่วยให้การใช้สารสนเทศเพื่อรองรับการปฏิบัติงานตามกระแสงานหรือขั้นตอน จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน
3) ความสำคัญด้านกฎหมาย การจัดการสารสนเทศเพื่อการดำเนินงาน จำเป็นต้องสอดคล้องกับกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับทั้งในระดับภายในและภายนอกองค์การ โดยเฉพาะสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการเงินและบัญชีที่ต้องรวบรวมจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ รวมทั้งมีการตรวจสอบความถูกต้องทั้งจากหน่วยงานภายในองค์การ หรือจากหน่วยงานภายนอกตามกฎหมาย
3. พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง
3.1 การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ
3.2 การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์
 4. จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
1. การหาข้อมูลทำรายงานส่งอาจารย์    
        2. การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ที่ต้องการซื้อ
        3. การบริโภคข้อมูลในเฟสบุคอย่างมีสติ



บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด?
     2. เทคโนโลยี
2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?
     3. การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3. การฝากถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม (ATM) เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด?
     1. ระบบอัตโนมัติ
4. ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?
     4. ถูกทุกข้อ
5. เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด?
     3. การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ
 6. เครื่องมือที่สำคัญในการในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
     4. ถูกทุกข้อ
7. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
     4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ
8. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?
     3. เครื่องมินิคอมพิวเตอร์
9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ?
     3. ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
10. ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน?
     4. ถูกทุกข้อ



บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ


คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Firewall) คือ เป็นตัวกรองข้อมูลสื่อสาร โดยการกำหนดกฎและระเบียบมาบังคับใช้โดยเฉพาะเรื่องของการดูแลระบบเครือข่าย โดยความผิดพลาดของการปรับแต่งอาจส่งผลทำให้ไฟล์วอลล์มีช่องโหว่ และนำไปสู่สาเหตุของการโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้
2. จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm, virus computer, spy ware, adware มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม
ตอบ virus computer คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ปรือชุดคำสั่ง ที่มนุษย์เขียนขึ้นมามีวัตถุประสงค์เพื่อรบกวนการทำงานหรือทำลายข้อมูล รวมถึงแฟ้มข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ลักษณะการติดต่อของไวรัสคอมพิวเตอร์ คือไวรัสจะนำพาตังเองไปติด (Attach) กับโปรแกรมดังกล่าวก็เป็นเสมือนโปรแกรมพาหะในกำนำพาไวรัสแพร่กระจายไปยังโปรแกรมหรือระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ หรือแม้กระทั่งแพร่กระจายในระบบเครือข่ายต่อไป
3. ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
1) Application viruses จะมีผลหรือมีการแพร่กระจายไปยังโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ
2) System viruses ไวรัสชนิดนี้จะติดหรือแพร่กระจายในโปรแกรมจำพวกระบบปฏิบัติการ Operating systems) หรือโปรแกรมระบบอื่น ๆ โดยไวรัสชนิดนี้มักจะแพร่เชื้อในขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
4. ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
1) ใช้โปรแกรมสแกนไวรัส
2) เปิดระบบป้องกันของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ไฟร์วอลล์ (Firewall)
3) การนำ Proxy เข้ามาทำงานร่วมกับไฟร์วอลล์โดยเป็นการติดต่อผ่านProxy Server เพื่อป้องกันระบบ Internet ให้ปลอดภัย
4) ไม่กดโหลดอะไรมั่ว ควรอ่านให้ดีๆ
5) ไม่คลิกโฆษณาหน้าเว็บไซต์ต่างๆ
5. มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่
1) ICT Gate Keeper เฝ้าระวังพิษภัยอินเทอร์เน็ตบนเครือข่ายและวงจรเชื่อมต่อระหว่างประเทศ (Gateway) พัฒนาซอฟต์แวร์นี้โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงไอซีที ได้มอบหมายให้บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ดำเนินการเพื่อเฝ้าระวังปิดกั้นข้อมูลไม่เหมาะสมตั้งแต่ต้นทาง
2) House Keeper ซึ่งจัดทำเป็นแผ่นซีดีรอม และแจกฟรีให้กับผู้ปกครองหรือดาวน์โหลดได้ฟรีจากเว็บไซต์ของกระทรวง โปรแกรมนี้จะมี 3 ส่วน
-  ส่วนแรกคิดดี้แคร์ ปิดกั้นเว็บไซต์อนาจารและเว็บที่ไม่เหมาะสมที่กระทรวงไอซีที มีข้อมูลคาดว่าจะช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่ง
-  ต่อมาเป็นส่วนพีเพิลคลีน ติดไอคอนไวที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะคลิกเข้าไปเมื่อพบภาพลามกอนาจาร ประชาชนจึงสามารถเข้ามามีบทบาทช่วยเฝ้าระวังภัยได้เช่นกัน
-  ส่วนสุดท้าย สมาร์ทเกมเมอร์ (Smart Gamer) แก้ปัญหาการติดแกม และควบคุมการเล่นเกมของเด็ก ๆ ผู้ปกครองจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาของการเล่นเกมและช่วยดูแลเรื่องความรุนแรงของเกม แต่ละส่วนนี้คงต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา



บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

คำชี้แจง จงพิจารณากรณีศึกษานี้
1) “นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่ เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว Cเมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง” การกระทำอย่างนี้ผิดจริยธรรมหรือผิดกฎหมาย ใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย
ตอบ ผิดทางกฎหมาย มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากทำโปรแกรมเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์และทำให้ผู้อื่นเสียหาย และหากนาย B นำโปรแกรมไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตก็ผิดเช่นเดียวกัน เพราะไม่ใช่โปรแกรมที่นำไปเผยแพร่ เป็นโปรแกรมสร้างมาเพื่อทดลองในงานวิจัย ดังนั้นจึงผิดทั้งจริยธรรมและทางกฎหมาย โดยที่นางสาว Cก็ผิดเช่นเดียวกัน
2) “นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐาน อ้างอิงจากตำราต่างๆ อีกทั้ง รูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียน ในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J” การ กระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย
ตอบ ไม่ผิดเพราะเด็กชาย K ทำรายงานเพื่อการศึกษา และเนื้อหาที่ใช้มีส่วนอ้างอิงน่าเชื่อถือ